อาการจุกลิ้นปี่ คืออะไร

จุกลิ้นปี่ รู้ทัน! ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

บทความนี้ขอเอาใจสายบุฟเฟต์ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าสายกินจุ เชื่อว่าร้อยละ 60 ของสายกินบุฟเฟต์ทั้งหลาย มักจะพบอาการแสบร้อนและจุกลิ้นปี่อย่างแน่นอน ส่วนใหญ่มักจะเป็นและหายเอง แต่จะเป็นเรื่อย ๆ เกิดในช่วงหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ แต่รู้หรือไม่? อาการลุกลิ้นปี่ คือ สัญญาณบ่งบอกถึงโรคร้ายที่จะตามมาในภายหลังได้ ถือเป็นอีกหนึ่งโรคที่มาแล้วก็ไป  แต่แท้จริงแล้วอันตรายพอสมควร

อาการจุกลิ้นปี่ คืออะไร

อาการจุกลิ้นปี่ คือ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ช่วงบริเวณซี่โครงส่วนบนหรือบริเวณลิ้นปี่ ซึ่งบริเวณนั้น คือ ตำแหน่งของระบบทางเดินอาหาร โดยอาการจุกลิ้นปี่เกิดจากระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ ส่งผลทำให้น้ำย่อยหรืออาหารที่เราเพิ่งรับประทานเข้าไป พุ่งย้อนหูรูดกลับขึ้นมาเหนือกล้ามเหนือบริเวณหลอดอาหาร ส่งผลทำให้เกิดภาวะแสบร้อนทรวงอก คลื่นไส้ อาเจียน บางรายหากรับประทานอาหารรสจัด อาจถึงขั้นมีอาการแสบร้อนทรมาน ปวดแสบปวดร้อน ระดับน้ำหูน้ำตาไหลเลยทีเดียว

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอาการจุกลิ้นปี่

อาการจุกลิ้นปี่ สำหรับผู้ป่วยที่ประสบอาการ ส่วนใหญ่มักจะเกิดกับบุคคลที่มีพฤติกรรมรับประทานอาหารเกินขนาด หรือรับประทานอาหารด้วยความรวดเร็วจนเกินไป แต่แท้จริงแล้ว ปัจจัยที่ส่งผลทำให้เกิดอาการจุกลิ้นปี่นั้นมีอยู่หลายปัจจัยเช่นกัน  ดังนี้

  • ปัจจัยที่พบได้มาก สำหรับคนส่วนใหญ่นั่นก็คือการรับประทานอาหารเกินขนาด ส่งผลทำให้กระเพาะอาหารเกิดการขยายตัว แล้วกระทบต่ออวัยวะสำคัญ เช่น ลำไส้ สุดท้ายการขยายตัวส่งผลทำให้กรดต่าง ๆ ที่อยู่ภายในกระเพราะ ย้อนกลับขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร จนรู้สึกได้ถึงอาการแสบร้อนทรวงอก (กรดไหลย้อน)
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะมีประโยชน์เมื่อดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ แต่ถ้าดื่มเกินขนาดเป็นประจำ แอลกอฮอล์จะส่งผลทำให้กระเพาะอาหารเกิดการอักเสบ รวมถึงโรคเกี่ยวกับตับ จนเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างเช่นภาวะจุกลิ้นปี่
  • การใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการรับประทานอาหาร นับว่าสำคัญมาก ๆ เช่นกัน ดังนั้นควรรับประทานอาหารอยู่ในปริมาณที่พอดี, ไม่ทานเร็วเกินไป, ไม่รับประทานอาหารรสจัดติดมัน เป็นต้น เพื่อไม่ทำให้เกิดภาวะอาหารไม่ย่อย อาการท้องเสีย ท้องอืดก็จะตามมา รวมถึงภาวะจุกลิ้นปี่ เนื่องจากการอาเจียน
  • โรคต่าง ๆ รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ มีโอกาสที่จะเกิดภาวะจุกลิ้นปี่ได้เช่น สาเหตุเกิดภาวะจุกลิ้นปี่เพราะโรค คือ โรคกระเพาะ, หลอดอาหารอักเสบ, โรคกะบังลม, โรคไส้เลื่อน, โรคมะเร็งหลอดอาหาร เป็นต้น สำหรับหญิงตั้งครรภ์ สาเหตุอาจเกิดจากฮอร์โมนร่างกายของแม่ที่ตั้งครรภ์เกิดการเปลี่ยนแปลง รวมถึงกระบวนการย่อยอาหารอีกด้วย จึงส่งทำให้หญิงตั้งครรภ์สามารถประสบกับอาการจุกลิ้นปี่

เคล็ดลับบรรเทาอาการแสบร้อนจุกลิ้นปี่

ทั้งนี้วิธีในการจัดการกับอาการแสบร้อนทรวงอกหรือจุกลิ้นปี่นั้น จำเป็นต้องแยกเป็นกรณีไป ดังนั้นวิธีบรรเทาอาการ รวมถึงการรักษาอาการจุกลิ้นปี่นั้นต้องแยกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ  การแก้ที่พฤติกรรมและการรักษาโดยการพบแพทย์ตามอาการ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.การแก้ที่พฤติกรรม

สำหรับผู้ที่กำลังประสบกับอาการจุกลิ้นปี่ อันเนื่องมาจากพฤติกรรม เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหารแบบผิด ๆ ดังนั้นวิธีแก้สำหรับผู้ป่วยจุกลิ้นปี่ประเภทนี้ ขอแนะนำให้เลือกรับประทานรสไม่จัด ดีต่อสุขภาพ ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อวัน แนะนำดื่มน้ำขิงอย่างน้อย 2 แก้วต่อวัน จะทำให้อาการแสบร้อนทรวงอกบรรเทาได้ดียิ่งขึ้น และที่สำคัญหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

2.การรักษาด้วยการพบแพทย์

สำหรับเคสจุกลิ้นปี่ที่มีสาเหตุมาจากโรคต่าง ๆ มีความจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อเข้ารับยาและทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง ทั้งยังมีประสิทธิภาพที่สุด โดยแพทย์จะจ่ายยากลุ่มยับยั้งการเกิดกรดในกระเพาะ เพื่อบรรเทาอาการแสบร้อนทรวงอกเบื้องต้น  จากนั้นจึงรักษาตามอาการของโรคนั้น ๆ ต่อไป เช่น ผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคกระเพาะอักเสบ หมอก็จะจ่ายยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรียในการรักษาต้นตอนั่นเอง

อาการจุกลิ้นปี่ที่ควรพบแพทย์ทันที !

จริงอยู่ว่าอาการจุกลิ้นปี่สามารถเกิดขึ้นเมื่อใดหรือกับใครก็ได้ แต่ประเด็นสำคัญ คือ อาการจุกลิ้นปี่หรือกรดไหลย้อนนั้น นับว่าเป็นสัญญาณบ่งบอกโรคร้ายต่าง ๆ ที่จะตามมาได้ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าอาการจุกลิ้นปี่ลักษณะไหนน่าเป็นห่วงที่นอกจาก อาการแสบร้อนทรวงอก ดังนี้

  • กลืนอาหารหรือแม้กระทั่งกลืนน้ำลาย ก็สามารถสัมผัสถึงอาการเจ็บบริเวณลำคอ
  • มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจติดขัด หายใจไม่ทั่วท้อง เหงื่อออกมือ หรือมีเหงื่อหลั่งออกมามากทั่วร่างกายผิดปกติ
  • คลื่นไส้อาเจียนเป็นเลือด รวมถึงภาวะท้องเสียแทรกซ้อน ถ่ายออกมาเป็นเลือด
  • น้ำหนักลดแบบฉับพลัน มีอาการอ่อนเพลีย

หากพบอาการจุกลิ้นปี่มาอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ อาการยังไม่ดีขึ้น ร่วมกับอาการต่าง ๆ ข้างตัน ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน  เนื่องจากเป็นสัญญาณของโรคร้าย เช่น โรคมะเร็ง, โรคถุงน้ำดี, โรคลำไส้, โรคกรดไหลย้อน หากปล่อยจนอาการเรื้อรัง โดยไม่ทำการรักษาโรคแทรกซ้อนเหล่านี้ อาจะส่งผลกระทบต่อหัวใจที่อยู่ใกล้เคียงได้เช่นกัน และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ในที่สุด ดังนั้นวิธีการป้องกันภาวะจุกลิ้นปี่ที่ดีที่สุด คือ การปรับพฤติกรรมส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานให้เหมาะสมกับร่างกาย ดื่มน้ำ  ออกกำลังกาย หากิจกรรมลดความเครียด หรืออาจจะไปพบแพทย์เพื่อตรวจด้วยการส่องกล้อง จึงนับว่าเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สามารถป้องกันโรคร้ายได้อย่างทันท่วงที