ภาวะน้ําท่วมปอด คืออะไร อันตรายถึงชีวิตจริงหรือ

ภาวะน้ําท่วมปอด คืออะไร อันตรายถึงชีวิตจริงหรือ?

ปอดเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่เพิ่มปริมาณออกซิเจนในเลือดเพื่อนำไปใช้ตามอวัยวะต่าง ๆ หากปอดมีความผิดปกติเกิดขึ้นย่อมส่งกระทบต่อการใช้ชีวิตอย่างมาก ซึ่งหนึ่งในความผิดปกติของปอดที่พบได้และมีผลกระทบ คือ ภาวะน้ําท่วมปอด

ภาวะน้ําท่วมปอด คืออะไร

ภาวะน้ําท่วมปอด (Pulmonary edema) หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ภาวะปอดบวมน้ำ” คือ ภาวะที่ปอดมีของเหลวอยู่ภายในเป็นจำนวนมาก ทำให้พื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนให้กับเม็ดเลือดเกิดขึ้นน้อยลง ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในเลือดลงลดตามไปด้วย หากน้ำท่วมปอดในปริมาณสูงหรือเป็นระยะเวลานานผู้ป่วยอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ชนิดของภาวะน้ำท่วมปอด

น้ำท่วมปอดมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ซึ่งการแบ่งชนิดของน้ําท่วมปอดจะแบ่งตามลักษณะหรือเวลาที่ทำให้เกิดภาวะนี้ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบด้วยกันคือ

1.น้ำท่วมปอดชนิดเรื้อรัง (Chronic pulmonary edema symptoms)

คือ ภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการน้ําท่วมปอดต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน โดยในช่วงเริ่มต้นของอาการจะไม่เด่นชัด และผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ แต่จะมีอาการหายใจไม่อิ่ม หายใจมีเสียงหวีด เวลาออกแรงรู้สึกเหนื่อยมากกว่าปกติ เวลานอนราบหายใจลำบาก ต้องนอนหัวสูงหรือลุกขึ้นนั่ง อ่อนเพลีย ขาและเท้าบวม ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นจากเล็กน้อยจนมีความรุนแรงตามระดับน้ำที่อยู่ในปอด ซึ่งภาวะน้ําท่วมปอดเรื้อรังจะขึ้นร่วมกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจโต ภาวะหัวใจขาดเลือด ภาวะลิ้นหัวใจรั่ว โรคความดันโลหิตสูง โรคไต เป็นต้น

2.น้ําท่วมปอดชนิดเฉียบพลัน (Acute pulmonary edema symptoms)

คือ ภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการน้ําท่วมปอดในระดับที่เป็นอันตรายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งภาวะแบบเฉียบพลันนี้มักเป็นอาการแทรกซ้อนหรืออาการที่เกิดขึ้นกับโรคอื่น เช่น หัวใจล้มเหลวฉับพลัน ลิ้นหัวใจรั่วเฉียบพลัน เป็นต้น นอกจากนั้นการได้รับสารเสพติดหรือยาบางชนิดยังก่อให้เกิดภาวะน้ำท่วมปอดแบบเฉียบพลันได้อีกด้วย โดยจะมีอาการหายใจลำบากเวลานอน หอบ หายใจมีเสียงดัง รู้สึกวิตกโดยไม่มีสาเหตุ เนื่องจากเกิดภาวะสมองขาดออกซิเจน เจ็บหน้าอก ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที เพราะอาการเหล่านี้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ในระยะเวลาอันสั้น

3.น้ำท่วมปอดจากการขึ้นที่สูง (High-altitude pulmonary edema symptoms)

เป็นภาวะน้ำท่วมปิดที่เกิดขึ้นในผู้ที่เดินทางขึ้นไปที่สูงอย่างรวดเร็ว ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ มีไข้ ไอมีเสมหะปนเลือด ใจสั่น เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ หากมีอาการนี้เกิดขึ้นผู้ป่วยไม่ควรเดินทางด้วยความเร็ว ควรหยุดพักเพื่อให้ปอดได้ปรับสภาพและหายใจเอาออกซิเจนเข้าร่างกายได้มากขึ้น หากมีอาการที่รุนแรง หายใจไม่ออก วิงเวียนหน้ามืดควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที แต่หากอาการไม่รุนแรงสามารถเดินทางต่อได้ แต่ควรเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อป้องกันภาวะน้ำท่วมปวดชนิดเรือรังที่อาจเกิดขึ้นได้

สาเหตุของภาวะน้ําท่วมปอด

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมปอดจะเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจที่หัวใจห้องล่างซ้าย เพราะหัวใจห้องล่างซ้ายจะทำหน้าที่สูบฉีดเลือดจากปอดไปยังอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้นเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายทำงานได้ไม่เต็มที่แล้ว ก็จะทำให้ไม่สามารถสูบฉูดเลือดที่ได้รับออกซิเจนออกจากปอดไปได้ ทำให้มีของเหลวค้างอยู่ในปอดเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นโรคที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจถือเป็นปัจจัยทางอ้อมที่ทำให้เกิดภาวะน้ําท่วมปอดได้ เช่น  โรคหลอดเลือดแดงตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น ที่ส่งผลให้การทำงานของหัวใจ

วิธีรักษาภาวะน้ำท่วมปอด

การรักษาน้ําท่วมปอดจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะโรคนี้เป็นโรคที่ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่จะเกิดขึ้นร่วมกับโรคอื่น ๆ อีกหลายชนิด โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งเป็นโรคที่มีความอันตรายสูง ดังนั้นหากผู้ป่วยมีอาการของโรคที่กล่าวมาข้างต้นควรไปทำการตรวจร่างกาย ว่ามีภาวะน้ําท่วมปอดหรือโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจหรือ เพื่อที่จะได้ทำการรักษาอาการได้ทันท่วงที

ไม่ควรทำการซื้อยามากินเองหรือกินยาตามผู้อื่น เพราะอาการของคนแต่ละคนต้องได้รับยาที่ไม่เท่ากัน ซึ่งหากกินยาที่ไม่เหมาะสมกับอาการของโรค นอกจากจะไม่ช่วยทำให้อาการดีขึ้นแล้ว ยาที่กินอาจจะไปกระตุ้นโรคให้มีความรุ่นแรงมากขึ้นได้

วิธีป้องกันภาวะน้ำท่วมปอด

ภาวะน้ําท่วมปอดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น จึงไม่มีการป้องกันที่สามารถป้องกันการเกิดได้อย่างเต็มร้อย แต่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ได้ด้วยการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้หัวใจทำงานปกติและแข็งแรง กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดอาหารที่คอเลสเตอรอลต่ำ เน้นโปรตีน เส้นใยเป็นหลัก เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกตินั่นเอง นอกจากนั้นควรไปตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำทุกปี เพื่อตรวจสอบความแข็งแรงของหัวใจและความเสี่ยงในการเกิดภาวะน้ําท่วมปอด

จะเห็นว่าภาวะน้ําท่วมปอดถึงแม้จะเป็นภาวะที่อันตรายถึงชีวิต แต่ก็สามารถป้องกันได้ไม่ยาก ด้วยการทำร่างกายและจิตใจแข็งแรง เพียงเท่านี้ความเสี่ยงต่อจากภาวะน้ำท่วมปอดก็ลดน้อยลงแล้ว